ส่องนโยบายเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย ภายใต้รัฐบาล ‘นายกฯ อิ๊งค์’

2024-08-19     HaiPress

ส่องนโยบายเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย มีอะไรบ้าง? ภายใต้การนำรัฐบาล "นายกฯ อิ๊งค์" หลังได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31

หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 31

นางสาวแพทองธาร หรือ “นายกฯ อิ๊งค์” กล่าวช่วงหนึ่งหลังรับสนองพระบรมราชโองการว่า นับเป็นเกียรติยศ และเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดแก่ชีวิต ดิฉัน ครอบครัว และพรรคเพื่อไทย สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นล้นพ้น ทั้งจะมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง ด้วยความจงรักภักดี ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ และประชาชนสนองพระราชปณิธานตามพระปฐมบรมราชโองการและตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญทุกประการ

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ที่จะนำพาประเทศไทยเดินหน้าฝ่าฟันทุกอุปสรรคแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน แก้ไขปัญหาปากท้องเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน 3 ปีที่เหลือตามวาระของรัฐสภา ดิฉันในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร จะขอทำหน้าที่ร่วมกับฝ่ายนิติบัญญัติด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง เปิดพื้นที่ในการรับฟังทุกความเห็น เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมั่นคง

“ภารกิจยิ่งใหญ่นี้ ไม่อาจสำเร็จได้ด้วยการทำงานของนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว ดิฉันมีความมุ่งหวังที่จะประสานพลังของคนทุกรุ่น ประสานพลังของบุคคลที่มีความสามารถในประเทศไทยจากทุกภาคส่วน ทั้งคณะรัฐมนตรี พรรคร่วมรัฐบาล ข้าราชการ เอกชนและพี่น้องประชาชน ในฐานะนายกรัฐมนตรี จะรับผิดชอบหน้าที่นี้ให้ดีที่สุด ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งโอกาส เป็นประเทศแห่งความสุขของคนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียม”

นายกฯ อิ๊งค์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 และเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของไทย พร้อมกับเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย โดยพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำหลักในรัฐบาลชุดนี้ เพื่อบริหารประเทศด้วยนโยบายต่างๆ หวังให้คนไทย “เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส” คือหลักการที่เป็นหัวใจในการบริหารประเทศของพรรคเพื่อไทย

มาส่องดูแผนนโยบายด้านเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย มีอะไรบ้าง?

1. กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท


2. เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน,ปริญญาตรีเริ่มต้น 25,000 บาทต่อเดือน ภายในปี 2570


3. ครัวเรือนมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน เติมรายได้ด้วยความรู้และซอฟต์พาวเวอร์


4. แก้หนี้นอกระบบ 1.4 ล้านราย


5. แก้ปัญหาหนี้เอสเอ็มอี 2 แสนล้านบาท


6. สนับสนุนธุรกิจสมัยใหม่ ลงทุนในไทย เพิ่มฐานภาษีธุรกิจใหม่


7. เขตเศรษฐกิจใหม่ New Business Zone เปิดพื้นที่เศรษฐกิจ นวัตกรรมใหม่


8. พักหนี้เกษตรกร 3 ปี เพิ่มรายได้เกษตรกร 3 เท่า


9. หวยบำเหน็จ ออมเงินผ่านกลไกสลากกินแบ่งรัฐบาล


10. รถไฟฟ้า กทม. 20 บาทตลอดสาย ขยายเส้นทางระบบรางทั่วประเทศ

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา