01-08
การถ่ายทอดวัฒนธรรมจีนและเสริมสร้างมิตรภาพระหว่างประเทศ ไทย-จีน ---- การประชุมแลกเปลี่ยนการกุศลระหว่างประเทศไทย-จีน ณ เมืองปินโจว
2023-08-21
วัฒนธรรมจีนเมื่อ5000ปีที่เคยรุ่งเรือง."ยังคงจำเป็นต้องส่งเสริมวัฒนธรรมให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้น โดยผ่านการถ่ายทอดวัฒนธรรมตัวอักษร,เสียง และผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านวัฒนธรรมจีน ให้ทั่วโลกได้รู้จักวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ค่านิยมทางสังคม และภูมิปัญญาที่ยอดเยี่ยมของจีน
เมื่อวันที่ 16 เดือนสิงหาคม (เวลา 14:30 นาที ตามเวลาเมืองปักกิ่งและเวลา13:30 นาทีตามเวลาประเทศไทย)หน่วยประชาสัมพันธ์เมืองปินโจว มณฑลฮุ่ยหมิน และหน่วยประชาสัมพันธ์เมืองปินโจว มณฑลหยางซิน ร่วมกับโรงเรียนภูเก็ตไทยหัวอาเซียนวิทยาได้จัดการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลผ่านการจัดระบบออนไลน์ในกิจกรรมที่มีชื่อว่า "การถ่ายทอดวัฒนธรรมจีน เสริมสร้างมิตรภาพระหว่าง ไทย-จีน"
โดยท่านเฉิน ลุ้ย ผู้อำนวยการศูนย์แนะแนวอารยธรรมยุคใหม่และผู้อำนวยการสำนักงานประชาสัมพันธ์ของมณฑลหยางซิน ,ท่านหลี่ ซินลุ้ย ผู้อำนวยการสำนักงานข่าว,ท่านลู่ เฉาฉุน ผู้อำนวยการสำนักงานประชาสัมพันธ์ของเมืองชิงเหอ มณฑลฮุ่ยหมิน ท่านเจียง ตี๋ สื่อมวลชนจากบริษัทเพิง จวู้ เข้าร่วมการประชุม ด้วยวิธีการวิดีโอคอลกับอาจารย์จาง เซิน จากโรงเรียนภูเก็ตไทยอาเซียนวิทยา ทั้งสองฝ่ายได้มีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนกันในเรื่อง "การบริจาคมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้"และ"การเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อสร้างห้องเรียนร่วมกัน" และเรื่องอื่นๆในรูปแบบการสนทนา เพื่อทำการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ในระหว่างการประชุม นำโดย ลู่ เฉาฉุน ผู้อำนวยการสำนักงานประชาสัมพันธ์ของเมืองชิงเหอ มณฑลฮุ่ยหมิน ได้แนะนำมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ให้กับอาจารย์จาง เซิน เช่นภาพปีใหม่ที่ทำจากไม้ ของเมืองชิงเหอ ภาพตัดกระดาษแบบดั้งเดิม และตุ๊กตาปั้นแป้งด้วยลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น และเฉิน ลุ้ย ผู้อำนวยการศูนย์แนะแนวอารยธรรมยุคใหม่ของมณฑลหยางซิน ได้แนะนำการเขียนพู่กันจีนแบบดั้งเดิม
ลำดับต่อมาอาจารย์จาง เซิน ก็ยังได้อภิปรายถึงสถานการณ์ปัจจุบันของโรงเรียนภูเก็ตไทยอาเซียนวิทยาให้กับผู้อำนวยการและคณะสื่อมวลชลต่างๆ นอกจากนี้ในการประชุมได้มีการตกลงกันว่าในทุกเดือนเมืองปินโจวและโรงเรียนภูเก็ตไทยอาเซียนวิทยา จะดำเนินกิจกรรม"การเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อสร้างห้องเรียนร่วมกัน"เดือนละครั้ง
โดย"การเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อสร้างห้องเรียนร่วมกัน"นั้นเป็นห้องเรียนที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนเรื่องวัฒนธรรมจีนแบบไม่แสวงหากำไร โดยในแต่ละครั้งจะมีการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ในชั้นเรียนจะเชิญผู้เชียวชาญมาแบ่งปันวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมให้กับนักเรียนในประเทศไทย ทำให้นักเรียนได้สัมผัสและเรียนรู้วัฒนธรรมจีนผ่านวัตถุโบราณในพิพิธภัณฑ์ มรดกทางวัฒนธรรมของจีน 《คัมภีร์หลุนอี่ว์》《ตำราพิชัยสงครามซุนวู》และวรรณกรรมคลาสสิคต่างๆของจีน
สำรวจความเจริญของอารยธรรมจีน จากเครื่องจักรสาน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องลายคราม และการแกะสลักจากกระดูกวัว สัมผัสมนต์เสน่ห์ของวัฒนธรรมจีนโบราณจากงานหัตถกรรมจีนโบราณ เช่น ตุ๊กตาที่ปั้นขึ้นมาจากแป้งแบบจีนโบราณและการตัดกระดาษ
วัฒนธรรมจีนมีต้นกำเนิดที่ยาวนานและลึกซึ้งมาก โดยเป็นเครื่องแสดงถึงค่านิยมเฉพาะเจาะจงของชาติจีน ซึ่งเมืองปินโจวเป็นเมืองแรกในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน